logo1.gif (3769 bytes)

?

sen.gif (11170 bytes)

รวมเว็บพุทธศาสนา การปกครองสงฆ สมณศักดิ์-พัศยศ พุทธรูปปางสำคัญ โชคชตาราศ

พุทธศาสนสุภาษิตบาลี-ไทย-อังกฤษ      

ประเพณี-วันสำคัญ สมาธิภาวนา พิธีกรรม


คอลัมส์ Hot fire.gif (6156 bytes)

ศาสนากับสังคมnew1234.gif (1122 bytes)
หลังกำแพงวัด
ศาสนากับเพศศึกษา

cameraflash.gif (2611 bytes) ข่าว - การสื่อสาร

ส่งเพจเจอร์  142 152 162 1144 1188 1500 มือถือ GSM900 1800 ส่งเพจได้ยาวไม่จำกัด SIAMPAGE PPA Sabye
 Newspaper ไทยรัฐ เดลินิวส์ ในเครือมติชน The Nation กรุงเทพธุรกิจ Bangkok Post
ผู้จัดการ    ไทยโพสต์  เส้นทางเศรษฐกิจ

odorokiz.gif (1069 bytes) สาระน่ารู้

แผนที่กรุงเทพ
แผนที่ทางด่วน
แผนที่รถไฟฟ้า BTS
ภาพถ่ายการจราจรสดๆ
ตารางรถไฟ
สคูลเน็ต
ด.เด็ก เวบเด็กไทย
ห้องสมุดกฎหมาย
ห้องสมุด E-LIB
ห้องสมุดวิทยพัฒน์

ปุจฉา-วิสัชชนา

ประสบการณ์ที่เกี่ยวเรื่องผี ๆ
ิคดอย่างไร จะให้คนไทยเลิกบุหรี่


     วันนี้

  “ความสำคัญของป่าในพระไตรปิฏกกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”

                จากปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกันแต่สาเหตุหนึ่ง
ที่เห็นกันอยู่จนไม่อาจปฏิเสธได้ คือความเห็นแก่ตัว ไม่ว่าจะเป็นความเห็นแก่ตัวของประชาชนทั่วไป
หรือความเห็นแก่ตัวของรัฐในฐานะผู้มีอำนาจในการตัดสินใจแทนของประชาชน หรือจากกลุ่มบุคคล
ผู้หวังผลประโยชน์
                 ในบรรดากลุ่มบุคคลเหล่านี้เราไม่สามารถจะกล่าวได้ว่ามาจากกลุ่มใดกล่มหนึ่งโดยเฉพาะ ทุกคนล้วนสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ทำให้สาเหตุของปัญหาเกี่ยวพันกันอาศัยกันและกัน
เกิดขึ้น อันมีเหตุเริ่มต้นมาจากประชาชนไม่เข้าใจในกฎของธรรมชาติ ประโยชน์จากธรรมชาติหรือโทษ
ของการทำลายธรรมชาติ มองเห็นเฉพาะประโยชน์ในปัจจุบันเท่านั้น (ทิฏฐธรรมิกะประโยชน์) ไม่คำนึงถึง
ประโยชน์ข้างหน้า (สัมปรายิกะประโยชน์) หรือประโยชน์สูงสุดจากการใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ (ปรมัตถะประโยชน์)
                เมื่อมีการเกิดขึ้นของกลุ่มชนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแล้วผู้คนเริ่มมองหาที่ทำกินสมัยก่อน
การจับจองที่ดินไปเป็นตามความชอบใจ ใครอยากได้ที่ตรงไหนก็สามารถจับจองได้โดยที่ชาวบ้านเอง
ก็ไม่รู้ว่าที่ตรงนั้นเป็นป่าหรือที่ทำกิน รู้แต่เพียงว่าไม่มีเจ้าของ จะต้องจับจองมาเป็นเจ้าของ  (อหังการ
มมังการ)ยึดติดในสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่าจะมาเป็นของเรา แต่ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ไม่ใครเป็นเจ้าของ แม้แต่ร่างกายเราก็เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามธรรมชาติ เราไม่สามารถจะบังคับ
ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตายได้ ไม่เป็นไปตามอำนาจของเรา เช่นเดียวกันกับธรรมชาติของสรรพสิ่ง
ที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้น
              จากการที่มนุษย์เข้าไปจัดการกับธรรมชาติโดยไม่เข้าใจถึงกฎของธรรมชาติย่อมส่งผลกระทบต่อ
ธรรมชาติอย่างร้ายแรง เมื่อที่ทำกินไม่เพียงพอ บุคคลย่อมดิ้นรนแสวงหาเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
บุกรุกป่าสงวนบ้าง ถมหรือปิดกั้นทางเดินของสายน้ำบ้าง คงต้องยอมรับความจริงอย่างหนึ่งว่า ประชาชนไม่เข้าใจกฎธรรมชาติ กฎหมายบ้านเมือง ทั้งกฎศีลธรรม บางคนแม้จะอยู่พื้นที่ของตนเอง
มาชั่วอายุคน แต่ก็ยังไม่มีสิทธิตามกฎหมาย แต่เขามีสิทธิตามตัวอัตตาที่เข้าไปยึดจับจองตั้งแต่แรกแล้ว
ว่า ที่นี้เป็นของเรา ห้ามใครมาบุกรุกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐเองก็ขาดประสิทธิภาพในการให้ข้อมูลกับประชาชนว่า เขตนี้เป็นป่าสงวนห้ามบุกรุกหรือเป็นพื้นที่ทำกินอนุญาตให้จับจองเป็นเจ้าของกันได้ อีกประการหนึ่งคือ
ความเห็นแก่ตัวของผู้มีอิทธิผลในการเอาชาวบ้านมาเป็นเครื่องมือ จ้างวานชาวบ้านให้แผ้วถางป่า
เพื่อจะให้รัฐรู้ว่า เป็นพื้นที่เสื่อมโทรม ไม่ใช่ป่า จะได้เข้าไปซื้อต่อจากชาวบ้านอีกทอดหนึ่ง
                  ปัญหาเหล่านั้นล้วนเกี่ยวพันกันจนยากจะแก้ไขผลกระทบจากการใช้สอยธรรมชาติ
อย่างเห็นแก่ตัวของประชาชน ทำให้เกิดความวิบัติทางธรรมชาติ เช่นฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือตกมาก
จนไม่สามารถจะควบคุมธรรมชาติได้ เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก ฯลฯ เป็นเหตุผลให้รัฐคิดจะจัดการธรรมชาติ
ด้วยการสร้างเขื่อนขึ้นมากักเก็บน้ำหรือผิดพลังงานไฟฟ้า โดยอ้างกับประชาชนว่า ต่อไปนี้น้ำจะไม่ท่วม
และชาวบ้านจะมีไฟฟ้าใช้ มีระบบจัดการน้ำที่ดีขึ้นด้วยระบบชลประทาน
                  จากโครงการที่รัฐพยายามเสนอให้ชาวบ้าน โดยที่รัฐเองก็ไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของการ
สร้างเขื่อนว่าจะกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วมได้หรือไม่ ชาวบ้านเองก็ฝันหวานก็โครงการอันเลิศหรู ดีใจกับ
การมีวัตถุจะได้อวดอ้างว่า มีเขื่อน ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอย่างไร อย่างเช่นกรณีเขื่อนปากมูล และเขื่อนราษีไสล เป็นต้น  
                    ปัญหาเหล่านี้เป็นเหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอดคือรัฐเองก็ไม่รู้และเข้าใจในแนวทาง
การแก้ไขปัญหาระยะยาว หวังเพียงแค่ต้องการป้องกันน้ำท่วม พลังงานไฟฟ้าชาวบ้านก็ไม่แสดงสิทธิอัน
ชอบธรรม(ตามที่เคยแสดงในการเข้าไปจับจองเป็นที่ดินทำกิน) เพื่อแสดงว่าตนเองก็มีสิทธิในการจัดการ
เช่นเดียวกัน ทำให้ปัญหาไม่สามารถยุติได้เพียงแค่นี้ เพราะจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีก กล่าวคือเมื่อชาวบ้านไม่มีที่ทำกินโดนไล่ที่หรือเวนคือ ก็ต้องเข้าไปจับจองที่อื่นสร้างปัญหาแบบนี้ต่อไป
ย่อมจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามไปด้วย
                ปัญหาทั้งหมดจึงอยู่ที่ความไม่เข้าใจในกฎแห่งความเป็นจริงของธรรมชาติมนุษย์พยามแสดงว่า
ตนเองเป็นเจ้าของธรรมชาติ จะต้องจัดการให้เป็นไปตามความคิดของตนเกิดความโลภเห็นแก่ตัวเป็นที่ตั้ง
ทั้งยังมองเห็นแต่ประโยชน์ในปัจจุบัน ไม่คำนึงถึงประโยชน์ข้างหน้า และประโยชน์สูงสุด ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง โดยเฉพาะการใช้กระดาษในสังคมไทย ที่ใช้กันอย่างไม่เห็นความสำคัญ ลืมนึกไปว่า กระดาษผลิตมาจากอะไร กระดาษที่เราใช้ไม่ว่าจะเป็นกระดาษชำระ กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษห่อของกระดาษโปสเตอร์หาเสียงที่ติดกันอย่างกราดเกลื่อน การทุ่มงบประมาณหาเสียง พิมพ์โปสเตอร์หาเสียงเกินกฎหมายกำหนด เพื่อเข้ามามีอำนาจ โดยไม่รู้ว่าตนเองกำลังทำลายสิ่งแวด เพราะเมื่อการเลือกตั้งผ่านไปกระดาษเหล่านั้นก็ถูกทิ้งอย่างไร้ค่าแต่ยังมีคนเห็นค่าบ้างก็คือคนเก็บของ
เก่าขายที่นำมาแลกเป็นเงินได้ คนกลุ่มนี้น่าจะมีจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม หรือการอนุรักษ์ที่ดีกว่า
คนทั่วไปก็ได้
                 แม้รัฐจะพยายามเน้นการนำกลับมาใช้ใหม่ แต่นั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทรรศนะ
ทางพุทธนั้น มุ่งให้เราแก้ที่จุดเริ่มต้นของปัญหา เพื่อเป็นการดับปัญหาโดยสิ้นเชิง การจะให้ประชาชน
เห็นความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย แต่คนเรากว่าจะเข้าใจ
และเห็นประโยชน์ของป่าไม้ ก็สายเกินไปเสียแล้ว ต้องได้รับโทษก่อนจึงจะรู้ประโยชน์อย่างเช่นกรณี
ปัญหาเศรษฐกิจ เมื่อก่อนประชาชนพากันใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย โดยไม่เข้าใจว่า ประหยัด , รัดเข็มขัด,
เป็นอย่างไร แต่มาบัดนี้จึงได้รู้ความจริง เช่นเดียวกันกับการตัดไม้ทำลายป่า ไม่รักษาสิ่งแวดล้อม ต้องให้มีเหตุการณ์น้ำท่วม หรือฝนแล้งซ้ำซาก จึงจะเข้าใจ หรือกระดาษมีราคาแพงขึ้น จึงจะรู้ว่า
ป่าไม้มีค่า
                  จากปัญหาเหล่านี้กลายเป็นความเห็นแก่ตัว ที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น หากเราไม่ขจัดออกยิ่งจะ
ทำลายมนุษย์เอง เปรียบเหมือนสนิมที่เกาะกินเหล็ก ทางออกสำหรับการรักษาทรัพยากรโดยเฉพาะ
ป่าไม้บทบาทของพระสงฆ์ต่อเรื่องนี้ จึงน่าจะชัดเจนและเป็นผู้นำให้กับรัฐและชาวบ้าน (ซึ่งไม่มีความ
เข้าใจในธรรมชาติ เพราะอยู่แต่ในเมือง) คือทำอย่างไร จะให้คนรักป่ารักธรรมชาติ แต่คงไม่ใช่การ
พาชาวบ้านไปปลูกป่าที่ทำกันอยู่อย่างแน่นอน เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ การสอนให้คนลด
ละความโลภ ความเห็นแก่ตัวหันมามองปัญหาส่วนรวม รู้คุณและโทษของธรรมชาติ การเป็นแบบอย่าง
ที่ดีในการพัฒนาวัดให้มีสภาพแวดล้อมเป็นธรรมชาติ มีสิ่งปลูกสร้างพอสมควรตามความจำเป็น
ตามแบบฉบับของพุทธศาสนาดั้งเดิม ไม่เน้นการก่อสร้างศาลา อุโบสถ ราคาหลายร้อยล้านอันเป็น
แบบอย่างที่ไม่ดี ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ที่วัดแต่ละวัดกำลังแข่งกันก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อมุ่งหวังประโยชน์
สำหรับตนเป็นที่ตั้ง (เพื่อขอพระราชทานแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์) วัดมีสภาพไม่ต่างจากสลัมหรือ
ชุมชนแออัดหรือมีสิ่งก่อสร้างใหญ่โตเพื่อทำลายสถิติกัน แม้จะมีการปลูกต้นไม้บ้าง แต่ก็เป็นเพียง
ไม้ดอกไม้ประดับให้สวยงามเท่านั้น ไม่มีการปลูกต้นไม้ยืนต้นที่จะสร้างความร่มรื่นไม่ว่าจะเป็นวัด
ในเมือง ในชนบท หรือในป่าก็ตาม ขณะที่พระสงฆ์สอนให้ชาวบ้านเลิกติดวัตถุนิยม แต่พระสงฆ์เอง
กลับไม่ทำเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวบ้านในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                 
จากปัญหาและแนวทางที่กล่าวมา แม้จะไม่สามารถนำมากล่าวได้หมดแต่น่าจะมีส่วนสำคัญ
ต่อการเสนอทรรศนะสร้างจิตสำนึกและเป็นทางออกให้กับสังคมในการใช้ทรัพยากรป่าไม้ อันจะก่อ
ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติสืบไป