ข่าว - การสื่อสาร |
|
|
วันนี้
วันจันทร์
ปางห้ามญาติ
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้นอยู่ในพระอริยาบถยืน
พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นเสมอพระอุระ
ตั้งฝ่าพระหัตถ์ยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม
เป็นแบบทรงเครื่องก็มี
ประวัติและความสำคัญ
ณ
พระนครกบิลพัสดุ์
อันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับของเจ้าศากยะ
ซึ่งเป็นพระญาติ
ข้างฝ่ายพระพุทธบิดา
กับพระนครเทวทหะอันเป็นแว่นแคว้นที่ประทับอยู่ของเจ้าโกลิยะ
ซึ่งเป็นพระญาติข้างฝ่ายพระพุทธมารดา
ทั้งสองพระนครนี้ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำโรหิณี
ชาวนาของ ๒ พระนครนี้
อาศัยน้ำในแม่น้ำโรหิณีนี้ทำนาร่วมกันมาโดยปกติสุข
ต่อมาสมัยหนึ่งฝนแล้ง น้ำน้อย
น้ำในแม่น้ำโรหิณีเหลือน้อย
ชาวนาทั้งหมดต้องกั้น
ทำนบทดน้ำในแม่น้ำโรหิณีขึ้นมาทำนา
แม้ดังนั้นแล้ว น้ำก็ยังไม่พอ
เป็นเหตุให้มีการแย่งน้ำ
กันทำนาขึ้น
ขั้นแรกก็เป็นการวิวาทกันเฉพาะเพียงบุคคลต่อบุคคลแต่เมื่อไม่มีการระงับด้วย
สันติวิธี
การวิวาทนั้นก็ลุกลามมากขึ้นจนถึงคุมสมัครพรรคพวกเข้าไปประหารกัน
และด่าว่า
กระทบถึงชาติ โคตร
และลามปามไปถึงราชวงศ์ในที่สุด
กษัตริย์ผู้เป็นพระญาติของพระพุทธเจ้าทั้งสองเมือง
ก็ยกกำลังพลเข้าประชิดกัน
เพื่อแย่งน้ำ
โดยหลงเชื่อคำยุยุงพูดเท็จของอำมาตย์ที่กำลังเคียดแค้น
มิทันได้ทรงวินิจฉัยให้
ถ่องแท้แน่นอนว่า
เมื่อเรื่องเล็กน้อยเช่นนั้นเกิดขึ้น
ควรจะระงับด้วยสันติวิธี
พระพุทธเจ้าทรงทราบก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จมาห้ามสงครามการแย่งน้ำระหว่าง
พระญาติทั้งสองฝ่าย
โดยทรงแสดงโทษคือความพินาศย่อยยับของชีวิตมนุษย์โดยเหตุ
อันไม่สมควรที่พระราชาจะต้องมาล้มตายทำลายเกียรติของตน
เพียงเพราะแย่งน้ำกันทำนา
เพียงเล็กน้อย
ครั้นแล้วพระญาติทั้งสองฝ่ายก็ทำความเข้าใจกันได้และหันมาสามัคคีกัน
พระพุทธจริยาที่ทรงโปรดพระญาติ
เพื่อห้ามมิให้ทะเลาะวิวาท
สู้รบกันเพราะเหตุ
แห่งการแย่งน้ำนี้
เป็นมงคลแสดงอนุภาพแห่งธรรมที่พระองค์ทรงแสดง
พุทธศาสนิกชน
ผู้หนักในธรรมคำสอน
เล็งเห็นคุณอัศจรรย์แห่งอนุสาสนีปาฎิหาริย์
จึงถือเป็นเหตุในการสร้าง
พระพุทธรูปขึ้น เรียกว่า
ปางห้ามญาติบ้าง
ปางห้ามสมุทรบ้าง
คาถาสวดบูชา
ยันทุนนิมิตตัง
อะวะมังคะลัญจะ
โยจามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง
อะวะมังคะลัญจะ
โยจามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ
ยันทุนนิมิตตัง
อะวะมังคะลัญจะ
โยจามะนาโป สะกุณัสสะ
สัทโท ปาปัคคะโห
ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสเมนตุ ฯ |
|
|