ข่าว - การสื่อสาร |
|
|
วันนี้
วันเสาร์
ปางนาคปรก
ลักษณะพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางนี้
อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ
ทรงหงายพระหัตถ์ทั้งสอง
แบวางซ้อนกันบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาซ้อนทับพระหัตถ์ซ้าย
มีพญานาคแผ่พังพาน
ปกคลุมเบื้องพระเศียร
ประวัติและความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข
ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น ๗ วัน
แล้ว
พระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก
อันมีชื่อว่า มุจจลินท์
ซึ่งตั้งอยู่ด้าน
ทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์
วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด
๗ วัน พญานาคมุจจลินท์
ผู้เป็นราชาแห่งนาค
ได้ออกจากนาคพิภพ
ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น
แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน
เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาด
ต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ
ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย
ครั้งฝนหายแล้ว
พญามุจจลินท์นาคราช
จึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกาย
พระพุทธเจ้า
จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์
ในที่เฉพาะพระพักตร์
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า
สุโข วิเวโก
ตุฏฺฐัสสะ |
สุตะธัมมัสสะ
ปัสสะโต |
อัพยาปัชชัง
สุขัง โลเก |
ปาณะภูเตสู
สัญญะโม |
สุขา วิราคะตา
โลเก |
กามานัง
สะมะติกฺกะโม |
อัสมิมานัสสะ
วินะโย |
เอตัง เว
ปะระมัง สุขัง ฯ |
ความว่า
ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว
รู้เห็นสังขารทั้งปวง
ตามเป็นจริงอย่างไร
ความเป็นคนไม่เบียดเบียน
คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย
และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด
คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้
เป็นสุขในโลก
ความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ
คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง
พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข
ภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์
นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้
เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา
เรียกว่า
ปางนาคปรก
เรื่องพระปางนาคปรกนี้
นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็น
บัลลังก์ดูสง่า
องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง
ได้ลักษณะเป็นอย่าง
พระเจ้าของพราหมณ์
ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ
ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ
พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง
๔-๕ ชิ้น จนบังพระ
วรกายมิดชิด
เพื่อป้องกันฝนและลม
จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ
และพระอังสา
เป็นอย่างมาก
ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย
คาถาสวดบูชา
ยะโตหัง
ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา
ชาโต นาภิชานามิ สัญจิจจะ
ปาณัง ชีวิตา
โวโรเปตา เตน สัจเจนะ โสตถิ
เต โหตุ คัพภัสสะ ฯ
|
|
|