logo1.gif (3769 bytes)

รวมเว็บพุทธศาสนา การปกครองสงฆ สมณศักดิ์-พัศยศ พุทธรูปปางสำคัญ โชคชตาราศ

พุทธศาสนสุภาษิตบาลี-ไทย-อังกฤษ      

ประเพณี-วันสำคัญ สมาธิภาวนา พิธีกรรม

พระพุทธรูปปางสำคัญ

พระประจำวันอาทิตย์
พระประจำวันจันทร
พระประจำวันอังคาร
พระประจำวันพุธ
พระประจำวันพุธ(กลางคืน)
พระประวันพฤหัสบดี
พระประจำวันศุกร์
พระประจำวันเสาร์

cameraflash.gif (2611 bytes) ข่าว - การสื่อสาร

ส่งเพจเจอร์  142 152 162 1144 1188 1500 มือถือ GSM900 1800 ส่งเพจได้ยาวไม่จำกัด SIAMPAGE PPA Sabye
 Newspaper ไทยรัฐ เดลินิวส์ ในเครือมติชน The Nation กรุงเทพธุรกิจ Bangkok Post
ผู้จัดการ    ไทยโพสต์  เส้นทางเศรษฐกิจ

odorokiz.gif (1069 bytes) สาระน่ารู้

แผนที่กรุงเทพ
แผนที่ทางด่วน
แผนที่รถไฟฟ้า BTS
ภาพถ่ายการจราจรสดๆ
ตารางรถไฟ
สคูลเน็ต
ด.เด็ก เวบเด็กไทย
ห้องสมุดกฎหมาย
ห้องสมุด E-LIB
ห้องสมุดวิทยพัฒน์

ปุจฉา-วิสัชชนา

ประสบการณ์ที่เกี่ยวเรื่องผี ๆ
ิคดอย่างไร จะให้คนไทยเลิกบุหรี่


     วันนี้

วันศุกร์
ปางรำพึง


day6.gif (29195 bytes)

ลักษณะพระพุทธรูป
        พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืน   พระหัตถ์ทั้งสองประสานยกขึ้นประทับที่
พระอุระ พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาททั้งสองประทับยืนชิดติดกัน

ประวัติและความสำคัญ
         เมื่อตปุสสะและภัลลิกะ  ๒   พาณิชกราบทูลลาไปแล้ว   พระพุทธองค์เสด็จกลับจาก
ร่มไม้ราชายตนะ   ไปประทับเสวยวิมุตติสุข  ณ   ร่มไม้อชลปาลนิโครธอีกครั้งหนึ่ง   และทรง
รำพึงถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนั้นว่า   เป็นธรรมประณีตละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ   ยากที่บุคคลจะรู้ได้ทำให้ท้อแท้พระทัย   ถึงกับทรงดำริจะไม่แสดงธรรมแก่มหาชน              
        ครั้งนั้น   ท้าวสหัมบดีพรหมทราบวาระจิตของพระพุทธองค์   จึงร้องประกาศชวน
เทพยดาทั้งหลาย   พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์ยังที่ประทับ ฯ  ควงไม้อชปาลนิโครธ   ถวายอภิวาทแล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์   ขอให้ทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน   เพื่อบุคคลผู้มีธุลีในนัยน์ตาน้อย   ทั้งมีอุปนิสสัยอันจะเป็นพุทธสาวก   จะได้ตรัสรู้ธรรมบ้าง     
        พระพุทธองค์ทรงรำพึงถึงธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย   แต่ปางก่อนว่า
ได้ตรัสรู้แล้ว   ย่อมทรงแสดงธรรมโปรดประชาชนทั้งหลายประดิษฐานพระพุทธศาสนา
ให้แผ่ไพศาล เพื่อประโยชน์สุขแก่ปัจฉิมชน   ผู้เกิดมาภายหลังแล้วจึงเสด็จปรินิพพาน   จึงได้น้อมพระทัยไปในอันแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ในโลก   แล้วพระพุทธองค์ ทรงพิจารณาอีกว่า   จะมีผู้รู้ถึงธรรมนั้นบ้างหรือไม่  
        ก็ทรงทราบถึงอุปนิสัยของบุคคลทั้งหลาย ในโลกนี้ย่อมมีต่าง ๆ  กัน  คือ   ทั้งประณีต  ปานกลางและหยาบ   ที่มีนิสัยดีมีกิเลส   น้อยเบาบาง   มีบารมีที่ด้สั่งสมอบรมมาแล้ว ซึ่งพอจะ
ตรัสรู้ธรรมตามพระองค์ได้ก็มีอยู่   ผู้มีอินทรีย์  ศรัทธา   วิริยะ  สติ   สมาธิปัญญากล้าก็มี   ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี   เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี   เป็นผู้จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี   เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี   เป็นผู้ไม่สามารถจะรู้ได้ก็มี
        บุคคลจึงเปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำ   เจริญในน้ำ   น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้   บางเหล่า
ยังจมอยู่ในน้ำ   บางเหล่าอยู่เสมอน้ำ   บางเหล่าขึ้นพ้นน้ำแล้ว   ในดอกบัว  ๓  เหล่านั้น   ดอกบัวที่ขึ้นพ้นน้ำแล้วนั้นคอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่จักบาน   ณ  เช้าวันนี้   ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ   จักบาน  ณ  วันพรุ่งนี้   ดอกบัวที่ยังไม่ขึ้นจากน้ำ   ยังอยู่ภายในน้ำ   จักบานในวันต่อ ๆ ไป   ดอกบัวที่จะบานมีต่างชนิดฉันใด เวในสัตว์ที่จะตรัสรู้ธรรมก็มีต่างกัน ฉันนั้น
       เหมือนกัน  คือ   ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง   มีอินทรีย์แก่กล้า   เป็นผู้ที่พึงสอนให้รู้ได้โดยง่าย   และอาจจะรู้ธรรมพิเศษนั้นได้โดยฉับพลัน   ผู้มีคุณสมบัติเช่นนั้นเป็นประมาณปานกลาง   เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพพาค   จนมีอุปนิสสัยแก่กล้าดังกล่าว แต่ยังอ่อน ก็ยังควร
ได้รับการแนะนำในธรรมเบื้องต่ำต่อไปก่อนเพื่อบำรุงอุปนิสัย
       เมื่อเป็นเช่นนี้ พระธรรมเทศนาของพระองค์คงไม่ไร้ผล จักยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่คน
ทุกหมู่เหล่า เว้นแต่จำพวกปทปรมะ   ซึ่งมิใช่เวไนย  คือ   ไม่รับการแนะนำ   ซึ่งเปรียบด้วย
ดอกบัวอ่อน   อันจะเป็นภักษาหารของปลาและเต่าต่อไป
        ครั้นพระพุทธองค์ทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ หยั่งทราบเวไนยสัตว์ผู้จะรับ
ประโยชน์จากพระธรรมเทศนาแล้ว   ก็ทรงอธิษฐานพระหฤทัยในอันจะแสดงธรรมสั่งสอน
ไวไนยสัตว์ และตั้งพุทธปณิธานจะใคร่ดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระพุทธศาสนา
ให้แพร่หลายประดิษฐานให้มั่นคง   สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่าต่อไป    
        พระพุทธจริยาที่ทรงรำพึงถึงธรรมที่จะแสดงโปรดชนนิกรผู้เป็นเวไนยบุคคลนั้นแล   เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปที่เรียกว่า   ปางรำพึง

คาถาสวดบูชา

         อัปปะสันเนหิ   นาถัสสะ  สาสะเน  สาธุ   สัมมะเต  อะมะนุสเนหิ จัณเฑหิ สะทา  กิพพิ
สะการิภิ     ปะริสานัญจะ   ตัสสันนัง   มะหิงสายะ  จะ คุตติยา  ยันเทเสหิ  มะหาวีโร  
ปะริตตันตัมภะณามะ  เห ฯ